ความเป็นส่วนตัวในโลกโซเชียล
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-26 (ปรับรูปแบบ)
#577 ความเป็นส่วนตัวในโลกโซเชียล
ปัจจุบันเรามีเครือข่ายสังคม สื่อสังคม หรือโลกโซเชียลที่กำหนดสิทธิความเป็นส่วนตัวได้หลายระดับ ทั้งกำหนดให้เห็นโพสต์ที่เราส่งเข้าไปด้วยตัวเราเองได้คนเดียว (Only me) เห็นบางคนที่เรากำหนด (List) เห็นเฉพาะที่เรารับเป็นเพื่อน (Friend) หรือเห็นได้ทุกคน (Everyone) นอกจากนั้นยังมีกลุ่ม (Group) ที่ถูกเชิญ (Invite) เข้าไปเพื่อทำภารกิจบางประการ ที่สามารถกำหนดให้เป็นกลุ่มลับ หรือเป็นกลุ่มปิดได้ แล้วยังมีเพจ (Page) ที่ใช้สำหรับเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสำหรับคนทั่วไป ช่วยให้เลือกใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ดังนั้นการใช้งานระดับบุคคลย่อมเป็นไปตามที่บุคคลกำหนด และสร้าง กฎ กติกา มารยาทในพื้นที่ส่วนตัว แล้วคิดว่าทุกคนต้องยอมรับกฎที่ตนเองสร้างขึ้น
สื่อสังคม (Social Media) แม้ถูกกำหนดเป็นพื้นที่ส่วนตัว (Private) แต่ถ้ามีใครเห็นสิ่งที่เราโพสต์ได้ นั่นย่อมไม่เป็นส่วนตัวทันที เคยมีการแชร์บทเรียนเรื่องลูกน้องกับเจ้านายที่เป็นเพื่อนกัน แล้วลูกน้องก็บ่นเรื่องเจ้านายจนนำพาไปสู่การเชิญให้ลูกน้องออกจากงาน แชร์ข่าวที่อาจารย์จีบลูกศิษย์ผ่านสื่อสังคม ซึ่งผิดกฎของสถาบันแล้วถูกตั้งกรรมการจนต้องให้ออก ผู้สัญจรทางถนนถ่ายคลิ๊ปหนุ่มกำลังมีปัญหากับคู่กรณีจนมีวลีว่า กราบรถกู แชร์ไปทั่วสื่อสังคม และมีบทลงโทษตามมามากมาย ประเด็นความป็นส่วนตัว (Privacy) ที่พูดคุยระดับภาครัฐ เช่น การรวมเครือข่ายให้มีความเป็นเอกภาพ (Single Gateway) และเก็บข้อมูลจราจร (Log) ของคนในประเทศ หรือปิดกั้นการเข้าถึงเครือข่ายสังคมทั้ง เฟสบุ๊ค ยูทูป ลิงค์อิน ก็ออกมาเป็นข่าวให้ผู้คนได้รับรู้กันอยู่เสมอ
การทำให้ทุกคนมีความคิดเห็นและเข้าใจเหมือนกันตรงกันเป็นเรื่องยาก แม้ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาแล้วไม่ตรงกับที่บางกลุ่มเลือกไว้ ก็จะออกมาประท้วง ใช้กำลัง ใช้ความรุนแรงเท่าที่ตนทำได้ เพราะเชื่อว่าความรุนแรงเป็นทางออก และยังเป็นทางออกของรัฐบาลหลายประเทศในการระงับข้อพิพาท เช่น การไม่ยอมให้ประชาชนใช้เครือข่ายสังคมที่ไม่สามารถควบคุมได้ หากตกลงกันไม่ได้ก็จะปิดกั้นตัดเยื้อไม่เหลือใยกันไป โลกเราปีประเทศมากถึง 195 ประเทศ มีกรณีศึกษาคือนโยบายของแต่ละประเทศ ผู้รับผิดชอบเห็นตัวอย่างประเทศใดก็มีแนวโน้มจะเอาเยี่ยงอย่างประเทศนั้น เพราะเป็นการเลือกที่ลดโอกาสผิดพลาดได้ดีที่สุด ทุกการตัดสินใจมีจุดดีจุดด้อยเสมอ และกระทบความเป็นส่วนตัวในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป
การทำให้ทุกคนมีความคิดเห็นและเข้าใจเหมือนกันตรงกันเป็นเรื่องยาก แม้ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาแล้วไม่ตรงกับที่บางกลุ่มเลือกไว้ ก็จะออกมาประท้วง ใช้กำลัง ใช้ความรุนแรงเท่าที่ตนทำได้ เพราะเชื่อว่าความรุนแรงเป็นทางออก และยังเป็นทางออกของรัฐบาลหลายประเทศในการระงับข้อพิพาท เช่น การไม่ยอมให้ประชาชนใช้เครือข่ายสังคมที่ไม่สามารถควบคุมได้ หากตกลงกันไม่ได้ก็จะปิดกั้นตัดเยื้อไม่เหลือใยกันไป โลกเราปีประเทศมากถึง 195 ประเทศ มีกรณีศึกษาคือนโยบายของแต่ละประเทศ ผู้รับผิดชอบเห็นตัวอย่างประเทศใดก็มีแนวโน้มจะเอาเยี่ยงอย่างประเทศนั้น เพราะเป็นการเลือกที่ลดโอกาสผิดพลาดได้ดีที่สุด ทุกการตัดสินใจมีจุดดีจุดด้อยเสมอ และกระทบความเป็นส่วนตัวในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
578.
สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นอยู่
577.
ความเป็นส่วนตัวในโลกโซเชียล
576.
ปัญญาประดิษฐ์อาจยังไม่แย่งงานมนุษย์
575.
การเก็บสื่อน้อมถวายความอาลัย
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ: 144 มิลลิวินาที สูง: 1755 จุด กว้าง: 1264 จุด
"ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง" โดย โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ
หน้าหลัก
Lampang.net
Thaiabc.com
Thainame.net
เปิดรับผู้สนับสนุนเพิ่ม
OS
MIS
SWOT
LINUX
Teach Pro.
SPSS
Business
Research
Online Quiz
Data Structure
จรรยาบรรณ
อันดับสถาบัน
ปฏิทินวันหยุด
วิทยาการคำนวณ
การจัดการความรู้
เกี่ยวกับเรา
สนับสนุนเรา
Products
FB : @Thaiall
Blog : เทคโนโลยี
Thaiall.com
Truehits.net